วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พาลูกเที่ยวชิลๆ วันหยุด (ตอนที่1)

Museum Siam : มิวเซียมสยาม กรุงเทพ

 
 
 
มิวเซียมสยาม หรือ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร 7 ตัวเป็นตัวกลาง มิวเซียมสยามดูแลโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Museum Siam

มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าชมที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้รากเหง้าของชาวไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มชนในเขตเมืองบางกอก หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เนื่องจากตัวมิวเซียมสยามแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มิได้หมายความว่าถ้าเป็นคนไทยต่างจังหวัด จะไม่สามารถมาเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้ได้ ด้วยเพราะสิ่งที่จัดแสดงในมิวเซียมสยามนี้ แสดงถึงความเป็นมาของชนชาติไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ ทำให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจผู้เข้าชมได้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังตั้งอยู่ในสถานที่สวยงาม
Museum Siam

พื้นที่จัดแสดงอาคารกระทรวงพาณิชย์เดิมภายในมิวเซียมสยามเป็นอาคาร 3 ชั้น มีห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรทั้งหมด 17 ห้อง ภายใต้หัวข้อ "เรียงความประเทศไทย

การจัดแสดง
ตัวอย่างการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์การจัดพื้นที่ภายในแบ่งเป็นเนื้อหาย่อย 17 ธีม ในรูปแบบ "เรียงความประเทศไทย" ให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ได้แก่

1.เบิกโรง (Immersive Theater)
2.ไทยแท้ (Typically Thai)
3.เปิดตำนานสุวรรณภูมิ (Introduction to Suvarnabhumi)
4.สุวรรณภูมิ(Suvarnabhumi)
5.พุทธิปัญญา (Buddhism)
6.กำเนิดสยามประเทศ (Founding of Ayutthaya)
7.สยามประเทศ (Siam)
8.สยามยุทธ์ (War Room)
9.แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ (Map Room)
10.กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา (Bangkok, New Ayutthaya)
11.ชีวิตนอกกรุงเทพฯ (Village Life)
12.แปลงโฉมสยามประเทศ (Change)
13.กำเนิดประเทศไทย (Politics & Communications)
14.สีสันตะวันตก (Thailand and the World)
15.เมืองไทยวันนี้ (Thailand Today)
16.มองไปข้างหน้า (Thailand Tomorrow)
17.ตึกเก่าเล่าเรื่อง

ในการเข้าชมมิวเซียมสยามนั้น ทางพิพิธภัณฑ์จะให้เริ่มชมจากชั้น 1 ต่อไปยังชั้น 3 และลงมาสิ้นสุดที่ชั้น 2 บทความนี้จะลำดับความตามลำดับการชม




ชั้น 1
- ตึกเก่าเล่าเรื่อง ห้องจัดแสดงความเป็นมาของอาคารกระทรวงพาณิชย์เดิม การบูรณะซ่อมแซมรวมถึงการกลายเป็นมิวเซียมสยามในปัจจุบัน
- เบิกโรง ห้องฉายภาพยนตร์สั้นเพื่อนำเข้าสู่การชมมิวเซียมสยาม ผ่านตัวละครต่าง ๆ
- ไทยแท้ ห้องแสดงวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของไทย พร้อมการไขว่าแท้ที่จริงแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นของไทยแท้หรือไม่
Museum Siam

Museum Siam

Museum Siam

Museum Siam


ชั้น 3- เปิดตำนานสุวรรณภูมิ ห้องจัดแสดงที่ตั้งของดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ชาติพันธุ์ในดินแดนนี้และวิธีการขุดค้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
- สุวรรณภูมิ ห้องจัดแสดงความเป็นอยู่ของผู้คนในสุวรรณภูมิ การติดต่อกับต่างประเทศ และหลักฐานประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิ
- พุทธิปัญญา ห้องแสดงหัวใจพระพุทธศาสนาและเรื่องราวที่แสดงถึงสัจจธรรม
- กำเนิดสยามประเทศ ห้องแสดงเรื่องราวความเป็นมาอาณาจักรต่าง ๆ ในดินแดนสยาม และตำนานต้นกำเนิดกรุงศรีอยุธยา
- สยามประเทศ ห้องแสดงเรื่องราวความเป็นอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และรูปจำลองเรือแบบต่าง ๆ ตั้งแต่เรือพื้นบ้านถึงเรือพระราชพิธี
- สยามยุทธ์ ห้องแสดงรูปแบบการรบ กำลังพล และการทำสงครามในสมัยอยุธยา
Museum Siam

Museum Siam

Museum Siam

Museum Siam

Museum Siam

Museum Siam

Museum Siam


ชั้น 2

- แผนที่ : ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ ห้องแสดงแผนที่ประเทศไทยในสมัยต่าง ๆ
- กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา ห้องแสดงเรื่องราวเมื่อสิ้นกรุงศรีอยุธยา เริ่มตั้งกรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ การอพยพของคนชาติต่าง ๆ ในสยาม และการเปรียบเทียบว่ากรุงรัตนโกสินทร์เหมือนกับกรุงศรีอยุธยาอย่างไร
- ชีวิตนอกกรุงเทพฯ ห้องแสดงวิถีชีวิตของคนในชนบทนอกกรุงเทพฯ โดยมีเรื่องข้าวเป็นหลัก
- แปลงโฉมสยามประเทศ ห้องแสดงการเปลี่ยนแปลงสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 และเรื่องราวของถนนเจริญกรุง
- กำเนิดประเทศไทย ห้องแสดงเรื่องราวในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย
- สีสันตะวันตก ห้องแสดงวัฒนธรรมตะวันตกที่เริ่มเข้ามาในประเทศไทย
- เมืองไทยวันนี้ ห้องอุโมงค์กระจกขนาดใหญ่ มีโทรทัศน์ขนาดเล็กรายล้อมทั่วห้อง
- มองไปข้างหน้า ห้องสำหรับแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าชม ด้วยระบบคอมพิวเตอร์แสดงข้อความบนผนัง
Museum Siam

Museum Siam
 
 
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Tinyzone.tv
 
 
สนใจท่องเที่ยวไปกับน่านฟ้าทัวร์ติดต่อได้ที่
 
Tel: 087-084-2233
 
 
 
 
 
 
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น