วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

การเตรียมพร้อมสำหรับการดำน้ำตื้น


 
-การไปเที่ยวเพื่อการดำน้ำ จะต้องประมาณตนเองว่ามีสุขภาพแข็งแรงเพียงพอ นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของตนเองแล้ว ยังไม่เป็นภาระของผู้อื่นด้วย
ผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็นแต่อยากไปดำน้ำตื้นกับเพื่อนด้วย ควรมีความพร้อมทั้งร่างกายคือแข็งแรงและพร้อมด้านจิตใจ คือต้องไม่กลัวจมน้ำ ธรรมชาติของร่างกายคนเราเวลาที่ลงน้ำจะลอย ยิ่งมีชูชีพพยุงตัวอยู่ด้วยแล้วรับรองไม่จมแน่ แต่มักจะบังคับการลอยตัวไม่เป็น ขอบอกว่าไม่ยาก ลองทำแบบนี้ซิ ถ้านอนหงายต้องการจะตั้งตัวตรงให้งอเข่าทั้งสองข้างขึ้นแล้วตัวจะตั้งตรงเองแล้วยืนขาตรงให้เป็นปกติ แต่ถ้านอนก้มหน้าต้องการตั้งตรงก็ให้งอเข่าอีกเช่นกันเมื่อตั้งตรงแล้วก็ยืดขาตามปกติ
-การออกไปดำน้ำดูปะการัง ควรไปด้วยกันอย่างน้อย 2 คน เสมอ เพระหากเกิดเหตุก็สามารถช่วยกันได้ ไม่ควรไปคนเดียวเด็ดขาด
-ควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่ไม่เหมาะต่อการดำน้ำ เช่น มีคลื่นรุนแรง ฝนตกหนัก บริเวณที่มีหน้าผาหินแหลมคม น้ำทะเลขุ่นมัวไม่ใส เป็นต้น
-การดำน้ำตื้นควรมองในมุม 30 องศา เพราะจะสามารถมองดูสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลได้ดี ไม่ว่าจะเป็นปลา ปะการัง สัตว์น้ำอื่นๆ ในสภาพสิ่งแวดล้อมได้กว้างกว่าในมุมเดียวกันกับคนที่ว่ายมาด้วยกันก็ไม่สามารถมองเห็นเหมือนกัน
-การดำน้ำดูปะการังไม่ควรรีบว่าย ควรค่อยๆ ว่ายช้าๆ ดูดีๆ มีปลาที่พรางตัวให้เข้ากับธรรมชาติ หรือซ่อนอยู่ตามซอกหลีบปะการัง หรือหนอนฉัตรหลากสีตามโขดหินหรือ แม้แต่ปู หอย ตัวเล็กตัวน้อย อีกมากมาย จะทำให้เรามีการสังเกตมากขึ้นและได้เห็นมากกว่าคนอื่น
-ห้ามจับหรือไปสัมผัสสัตว์น้ำทุกชนิด เพราะว่าส่วนใหญ่จะมีพิษเพื่อป้องกันตัว อย่างสุภาษิตที่ว่า ปลาใหญ่กินปลาเล็ก สัตว์น้ำก็ต้องระวังตัวอยู่ตลอดเวลาเหมือนกัน แม้ว่าสัตว์บางชนิดไม่มีพิษ แต่มีสิ่งแวดล้อมแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันช่วยป้องกันอันตรายให้ เช่น ปลาการ์ตูน ไม่มีพิษ แต่อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลที่มีเข็มพิษอยู่ ดังนั้น ปลาการ์ตูนมีสีสรรสวยงามเพื่อหลอกล่อให้ปลาอื่นเข้าใกล้ และเป็นอาหารให้ดอกไม้ทะเล ในขณะเดียวกันดอกไม้ทะเลก็มีเข็มพิษไว้ดักจับปลาที่ถูกหลอกมาเป็นอาหาร เป็นการป้องกันปลาการ์ตูนไปด้วย ดังนั้น เห็นปลาการ์ตูนสวยๆ ไม่ควรไปจับเพราะอาจโดนเข็มพิษของดอกไม้ทะเลได้ หรือแม้แต่ปลิงทะเลที่ดูนิ่มๆ ไม่มีพิษ หากจับมันมาโยนเล่น น้ำ้ำเมือกใต้ท้องของปลิงที่พ่นออกมาทำให้ตาบอดได้

 
-เมื่อว่ายน้ำเข้าไปในบริเวณที่มีปะการังตื้นมากๆ ควรลอยตัวนิ่งๆ แล้วใช้มือค่อยๆ แหวกว่ายออกไปให้พ้นจากบริเวณนั้นโดยไม่เตะเท้าหรือตีนกบ เพราะอาจถูกปะการังจนแตกหักพังทลายได้ และหากเสียหลักเมื่อถูกคลื่นซัดอย่าใช้ขาเหยียบพื้น เพราะอาจทำลายปะการังและทำให้เราได้รับบาดเจ็บได้ แต่ควรปล่อยให้ลอยไปตามคลื่น ถ้ารู้ว่าจะถูกปะการังหรือกระแทกกับโขดหินก็ต้องพยายามใช้บริเวณปลายนิ้ว หรือฝ่ามือดันออกมา
-ห้ามยืนบนปะการังเด็ดขาด เพราะว่าปะการังจะโตประมาณ 1 ปี แค่ 1 เซนติเมตร บนก้อนปะการังหนึ่งก้อนประกอบด้วยปะการังเล็กๆ หลายๆ ตัวรวมกัน และเป็นการสร้างรูปร่างให้พอกับการรับน้ำหนักของตัวประการังเองเท่านั้น การที่ไปเหยียบบนปะการัง หมายถึงความตายของปะการังหลายร้อยตัว และบางครั้งการไปยืนบนโขดหินที่มีเพรียงเกาะอยู่ ก็อาจจะบาดเท้าได้ หรือตามปะการังมีเม่นทะเลอยู่ อาจทิ่มตำเท้าให้เจ็บแสบได้
-ระหว่างขึ้นหรือลงเรือนั้นควรรอให้เรือจอดสนิท ห้ามเอามือจับกาบเรือหรือเดินบนกาบเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาจอดเทียบท่าหรือจอดเทียบเรือลำอื่น
-เวลาลงน้ำ ควรหันหน้าเข้าหาเรือ ลงตามบันไดเรือ เมื่อถึงน้ำให้ผลักตัวออกจากเรือ อย่าโดดน้ำเพราะไม่รู้ว่าความลึกของน้ำแค่ไหน อาจจะไปทำปะการังหัก และท่านเองก็ได้รับบาดเจ็บจากการชน กระแทก โขดหินได้
-เมื่อได้ยินเสียงเครื่องยนต์เรือดังขึ้น ควรสำรวจดูว่าเรือลำนั้นจะวิ่งมาทางที่เราดำน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณที่มีเรือเร็วหรือสกูตเตอร์ ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
-อย่าว่ายเข้ามาใกล้เรือบริเวณหัวเรือและท้ายเรือ เพราะหัวเรืออาจถูกคลื่นโยนตัวและกระแทกถูกเราจนได้รับบาดเจ็บได้ ส่วนท้ายเรือมีใบพัดซึ่งมีนักดำน้ำหลายคนเสียชีวิตเพราะใบพัดเรือมาแล้ว
-ควรดื่มน้ำมากๆ ก่อนลงทะเล เพราะเวลาเราว่ายน้ำ มีการสูญเสียน้ำในร่างกายมาก การดื่มก่อนจะทำให้เราไม่หิวกระหายได้ง่าย
-ห้ามทิ้งขยะลงทะเล หากเห็นขยะลอยอยู่ก็ช่วยๆ กันเก็บขึ้นมา เพื่อเป็นการอนุรักษ์ท้องทะเลบ้านเราให้คงอยู่ต่อไปอีกนานแสนนาน


ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Multiply.com ค่ะ
 
 
สนใจท่องเที่ยวไปกับน่านฟ้าเวิร์ลทัวร์ติดต่อได้ที่

Tel: 087-084-2233

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น