วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

การดูแลสุขภาพเมื่ออยู่บนเครื่อง (ตอนที่ 4 สุดท้าย)
 
ความกดอากาศภายในห้องโดยสาร
ความกดอากาศภายในห้องโดยสารนั้นได้ถูกปรับให้สมดุลที่สุด เพื่อความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร ถึงแม้จะบินอยู่ในระดับที่สูงมาก ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นระดับที่มนุษย์เราไม่สามารถอยู่ได้ ดังนั้นในห้องโดยสารเครื่องบิน จึงมีการปรับความกดอากาศให้เหมาะสม ซึ่งระดับดังกล่าวเสมือนระดับความสูงประมาณ 2,440 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลครับ
ผู้โดยสารส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหากับสภาพความกดอากาศในห้องโดยสารระหว่างเดินทาง รวมถึงความกดอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะเครื่องบินเพิ่มหรือลดเพดานบิน แต่หากขณะนั้นคุณไม่สบาย หรือมีปัญหาจากอวัยวะที่เกี่ยวกับการหายใจ หรือการติดเชื้อในช่องจมูก โรคเกี่ยวกับปอด โรคโลหิตจาง หรือภาวะทางหัวใจบางประการ คุณอาจเกิดรู้สึกไม่แย่มากขึ้นไปอีก
เด็กเล็กและทารกก็เช่นเดียวกัน อาจรู้สึกไม่สบาย อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศในระหว่างเครื่องบินที่กำลังเพิ่ม และลดระดับเพดานบิน สังเกตได้จากเด็กจะงอแงและร้องส่งเสียงดัง
หากคุณมีปัญหาจากการหายใจติดขัดหรือมีอาการภูมิแพ้ ให้ใช้สเปรย์ที่ฉีดพ่นทางจมูก ใช้ยาบางตัวเพื่อเปิดช่องให้หายใจได้สะดวก และใช้ยาบำบัดหวัดและหืด 30 นาทีก่อนลดระดับเพดานบิน เพื่อช่วยเปิดหูและช่องจมูก
หากคุณเป็นไข้หรือเป็นไข้หวัดใหญ่ โพรงจมูกของคุณอาจใช้งานไม่ได้เหมือนปกติ พังผืดในจมูกจะโป่งพองและก่อให้เกิดการกีดขวางในส่วนช่องแคบเล็กๆ ระหว่างโพรงจมูกกับห้องหูส่วนกลาง เป็นผลให้เกิดความรู้สึกไม่สบาย (ปวดหู, โพรงจมูก) ในขณะที่ความกดอากาศภายในห้องโดยสารเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะเครื่องบินทำการลดระดับเพดานบิน

ข้อแนะนำ
• หากคุณเคยมีประวัติทางการแพทย์ และเคยมีอาการดังกล่าวมาก่อน และต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มเติม คุณสามารถแจ้งกับทางสายการบินได้ โดยทำการแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการเดินทาง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละสายการบิน)
• เพื่อเป็นการเปิดช่องหู ให้กลืนน้ำลาย และหรือหาวโดยอ้าปากกว้าง วิธีการนี้จะช่วยเปิดช่องแคบเล็กๆ ระหว่างโพรงจมูกกับห้องหูส่วนกลาง ปรับความกดดันในห้องหูส่วนกลางกับลำคอให้เสมอกัน
• หากเดินทางพร้อมทารก ให้คุณป้อนอาหาร หรือให้ทารกดูดจุกนมในระหว่างเครื่องบินทำการลดระดับเพดานบิน การดูด หรือกลืนนี้จะช่วยให้ทารกปรับความกดอากาศในช่องหูได้
ความเหนื่อยล้าจากการเดินทางโดยเครื่องบิน
สาเหตุหลักของอาการเหนื่อยล้ามาจากการเดินทางข้ามเขตเวลา โดยที่ร่างกายไม่ได้ปรับตัวกับรอบเวลาใหม่ โดยทั่วไป ยิ่งคุณเดินทางข้ามเขตเวลามากเท่าใด ก็ยิ่งจะเป็นการรบกวนนาฬิกาชีวภาพในร่างกายของเรามากขึ้นเท่านั้น อาการที่จะเกิดขึ้นตามมาโดยทั่วไปได้แก่ การนอนไม่หลับ ความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากรับประทานอาหาร หรืออยากทานอาหารในเวลาที่ไม่เหมาะสม
เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง เราขอแนะนำให้คุณ
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในคืนก่อนการเดินทาง
• ถ้าเป็นไปได้ ให้เวลา 1-2 วัน เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวสู่รอบเวลาใหม่หลังจากการเดินทาง
• ถ้าเลือกได้ควรเลือกเที่ยวบินที่บินตรงสู่จุดหมาย เพื่อเป็นการลดระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ทั้งนี้จะช่วยให้คุณพักผ่อนได้มากขึ้นเมื่อเดินทางถึงจดหมายปลายทางแล้ว
• ให้ออกกำลังกายเบาๆ เดินกระฉับกระเฉงไปมา หรืออ่านหนังสือหากคุณไม่สามารถนอนหลับเมื่อคุณเดินทางถึงที่หมาย โดยปกติแล้วร่างกายจะใช้เวลา 1 วันโดยประมาณ เพื่อปรับตัวสู่รอบเวลาใหม่
***ขอขอบคุณสายการบินแควนตัส สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้ค่ะ และขอขอบคุณ BKKFLY.COM ค่ะ
 
สนใจท่องเที่ยวกับน่านฟ้าเวิร์ลทัวร์ติดต่อ
Tel: 087-084-2233
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น